Monday, December 24, 2012

กิจกรรมส่งเสริมโครงการ 5 ส.


กิจกรรมส่งเสริมโครงการ 5 ส.


           บริษัท XXXXX  จำกัด(มหาชน) ได้จัดให้มีการประกวดคำขวัญ 5 ส.ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัท ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยคำขวัญ 5 ส ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ

               
                                    "สะสางก่อสะดวก     สะอาดบวกจิตนิสัย
                                   สร้างชื่อให้ลือไกล    5ส.นั้นไซร้ใช้พัฒนา"

      

          

ประโยชน์ของกิจกรรม 5 ส.


ประโยชน์ของกิจกรรม 5 ส.


          สามารถแยกพิจารณา ได้เป็น 2 ส่วนคือ

1. ประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
   * สามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
     * บรรยากาศการทำงานและสถานที่ทำงานดีขึ้น
     * มีสภาพจิตใจแจ่มใส อารมณ์ดี และขวัญกำลังใจดี
     * มีความปลอดภัยในการทำงาน
     * มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานและสถานที่ทำงาน
     * เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
     * สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
     * มีสถานที่ทำงานที่เป็นระเบียบเรียบร้อย


2. ประโยชน์ของหน่วยงาน
   * เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและสร้างผลงาน
     * ลดการสูญเสียและความสิ้นเปลือง
     * มีพื้นที่และเนื้อที่ใช้งานมากขึ้น
     * ผู้รับบริการให้ความเชื่อถือและเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น
     * เปิดโอกาสให้สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น

นโยบายกิจกรรม 5 ส.


 นโยบายกิจกรรม 5 ส.


           ด้วยบริษัท XXXXXXXXXXXX  จำกัด(มหาชน) มีนโยบายให้มีการ ดำเนินกิจกรรม 5ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัยเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร เป็นพื้นฐานในการ พัฒนาการปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางไปสู่การประกันคุณภาพการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ จึงกำหนดนโยบายเป็นแนวปฏิบัติกิจกรรม 5ส ดังนี้

       1.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของบริษัท มีความเข้าใจ   และนำหลักการทำกิจกรรม 5 ส ไปปฏิบัติอย่างจริงจังและ ต่อเนื่องเสมือนเป็นภารกิจประจำ

       2.  ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับให้การสนับสนุน   ส่งเสริม  และเป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม 5ส และกำกับ ติดตาม ดูแลตลอดจนให้คำแนะนำและร่วมแก้ไขปัญหาโดยให้ถือเป็นภารกิจที่สำคัญ
      
       3.  จัดให้มีการทำกิจกรรม 5ส เป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง

       4.  จัดให้มีการตรวจ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม 5ส เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

       5.  จัดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการทำ งาน 5ส เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และพิจารณาให้รางวัลในความร่วมมือการทำกิจกรรม 5ส ทุกพื้นที่

ความหมายของ 5 ส.


ความหมายของ 5 ส.


          5 ส คือ กระบวนการในกรจัดสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยมุ่งเน้นที่จะก่อให้เกิดประ สิทธิภาพของ การทำงานและจิตสำนึกในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน 5 ส คำ ย่อซึ่งแปลมาจาก 5 S ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของคำในภาษาญี่ปุ่น 5คำ คือ

           

ส.1 : สะสาง

    คือการแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการและขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป วิธีการคือ
    1.สำรวจสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์และเอกสารในสถานที่ทำงาน
    2.แยกของทีต้องการและไม่ต้องการออกกจากกัน
    3.ขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้ง


ส.2 : สะดวก
   คือ การจัดวางสิ่งของต่าง ๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยวิธีการคือ
    1.ศึกษาวิธีการเก็บวางสิ่งของโดยคำนึงถึงความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพ
    2.กำหนดที่วางให้แน่ชัด โดยคำนึงถึงการใช้เนื้อที่
    3.เขียนป้ายชื่อแสดงสถานที่วาง และเก็บสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์


ส.3 : สะอาด
    คือ การทำความสะอาดเครื่องจักรอุปกรณ์และสถานที่ทำงานพร้อมทั้งตรวจสอบขจัดสาเหตุ
    ของความไม่สะอาดนั้น ๆ วิธีการคือ
    1.ทำความสะอาดสถานที่ทำงาน
    2.กำหนดแบ่งเขตพื้นที่
    3.ขจัดสาเหตุอันเป็นต้นตอของขยะ ความสกปรก เลอะเทอะ
    4.ตรวจเช็คเครื่องใช้ อุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาด


ส.4 : สุขลักษณะ
    คือ การรักษาความสะอาด ดูแลสถานที่ทำงานและปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะวิธีการคือ
    1.ขจัดมลภาวะซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตของพนักงาน
    เช่น อากาศเป็นพิษ เสียงดังเกินไป แสงสว่างไม่เพียงพอ ควันและเขม่าฟุ้งกระจายทั่วไป
    2.ปรุงแต่งสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบ สะอาดหมดจดยิ่งขึ้น มีบรรยากาศร่มรื่น   
    น่าทำงาน เปรียบเสมือนที่พักผ่อน
    3.พนักงานแต่งกายให้ถูกระเบียบ สะอาดหมดจด


ส.5 : สร้างนิสัย
    คือ การรักษาและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 4 ส.จนเป็นนิสัยและมีวินัยในการทำงาน   
    วิธีการคือฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจ ต่อกฎระเบียบ
    มาตรฐานการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติจนเป็นนิสัย โดยการตอกย้ำ
    เรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเป็นประจำ

ตัวอย่างการใช้ 5 ส. ในการจัดการสำนักงาน

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า 5ส มานานพอสมควรแล้ว แต่อาจจะไม่เคยนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้เพราะคิดว่าเป็นสิ่งไกลตัว วันนี้ผมอยากยกตัวอย่างในการนำ 5ส มาใช้ในสำนักงานของท่าน เริ่มต้นอาจจะยากสักนิดแต่หลังจากจัดทำเสร็จแล้วเชื่อว่าการทำงานของท่านจะ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. การจัดวางโต๊ะทำงาน
ให้จัดโต๊ะเรียงลำดับกันตามลำดับของ เอกสารที่จะต้องผ่าน และให้อยู่ใกล้กันในลักษณะที่เหมือนกับสายการประกอบในโรงงานอุตสาหกรรม (Assembly Line) เพื่อทำให้การไหลของเอกสารเป็นไปได้สะดวกและรวดเร็ว สามารถลดความสับสนในการส่งเอกสาร และการติดต่องานให้ลดลงได้
2. การจัดระบบการเข้า – ออก ของเอกสาร
พยายามจัดให้ขั้นตอนของเอกสาร ผ่านโต๊ะต่างๆ ให้น้อยที่สุด ในลักษณะของการบริการจุดเดียว (ONE-POINT SERVICE) จะทำให้สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แนวความคิดนี้มาจาก กระบวนการผลิตที่จัดให้วัตถุดิบไหลเข้าสู่สายการผลิต โดยใช้เวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ผลิตภัณฑ์ ถึงมือลูกค้า ปัจจุบันการบริการของธนาคารต่างๆ ก็หันมาใช้ระบบแบบนี้ ซึ่งมักจะใช้พนักงานเพียงคนเดียวในการรับ-จ่ายเงิน แทนที่จะต้องมีการตรวจสอบกัน 2 – 3 โต๊ะอย่างในสมัยก่อน
3. การจัดแฟ้มเอกสาร
3.1) การแยกประเภทของเอกสาร เอกสารต่างๆ สามารถแยกออกได้เป็น เอกสารที่ใช้ประจำ, เอกสารที่ใช้ตามช่วงเวลา, และเอกสารที่ใช้ในกรณีพิเศษ การจัดเก็บเอกสารประเภทต่างๆ นั้น มีวิธีการดังนี้
ก. แฟ้มเอกสารที่ใช้ประจำ เช่น ใบราคา รายชื่อที่อยู่ของลูกค้าประจำ ฯลฯ ให้จัดไว้ในชั้นที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้มากที่สุด และจัดให้อยู่ในระดับสูงจากเข่าถึงบ่าของผู้ใช้ จะทำให้การหยิบใช้และจัดเก็บทำได้สะดวก รวดเร็ว ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายด้วย
ข. แฟ้มเอกสารที่ใช้ตามช่วงเวลา เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งจ่ายเงิน เพื่อใช้สำหรับการคิดภาษี และแฟ้มเอกสารที่ใช้ในกรณีพิเศษ เช่น กฎระเบียบบริษัท กฎหมายต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง เป็นต้น ควรจัดเก็บในชั้นที่แยกต่างหาก ห่างจากสถานที่ที่เก็บเอกสารประจำ เพื่อที่จะได้เพิ่มพื้นที่ทำงานให้มากขึ้น
3.2) การจัดเอกสารเป็นหมวดหมู่ เมื่อแบ่งประเภทของเอกสารได้แล้ว ก็นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ โดยระบุเป็นตัวอักษร, ตัวเลข หรือใช้สีของแฟ้มที่แตกต่างกัน หรือใช้เทปสีติดที่สันแฟ้ม จะทำให้ การค้นหาและการจัดเก็บ เป็นไปได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
3.3) การจัดเรียงแฟ้มให้อยู่ตามลำดับในชั้นเก็บ การจัดเก็บแฟ้มเข้าชั้นเก็บ อาจจะมีการเรียงหมายเลข หรือใช้วิธีขีดเส้นทแยง จากแฟ้มแรกจนถึง แฟ้มสุดท้าย จะทำให้การจัดเก็บแฟ้มเข้าที่นั้น ถูกต้องรวดเร็ว แฟ้มไหนที่อยู่ผิดที่จะรู้ได้ทันที และสามารถเอากลับคืนที่เดิมได้ง่าย
3.4) การจัดทำแฟ้มดัชนี (Index File) เป็นแฟ้มที่ระบุรายละเอียดของหมวดหมู่ เอกสาร ซึ่งอาจกำหนดเป็นกลุ่มตัวเลขหรือเป็นกลุ่มตัวอักษร ทั้งหมายเลขของแฟ้มเอกสารและหมายเลขของตู้เก็บเอกสาร ซึ่งแฟ้มดังกล่าวจะบอกว่าเอกสารหมวดหมู่ใด ถูกเก็บไว้ ณ ที่ใด เมื่อต้องการเอกสารก็เพียงแต่เปิดหาที่แฟ้ม ดัชนี ก็สามารถไปหาเอกสารที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็ว ลดเวลาในการค้นหา
4. แบบฟอร์มต่างๆ ที่ใช้ในแต่ละหน่วยงาน
ควรจะมีการทบทวนรูปแบบของเอกสารต่างๆ อยู่เสมอ อาจจะ กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการทบทวนเอกสาร เช่น ปีละครั้ง หรือสองปีต่อครั้ง เพราะแบบฟอร์มที่ใช้งานนานๆ มักมีช่องที่เติมข้อความต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม ไม่จำเป็น ไม่เหมาะกับสถานการณ์หรือมีมากเกินไป ควรมีการแก้ไข ให้กะทัดรัด ใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว และสิ้นเปลืองกระดาษน้อยที่สุด
5. การจัดทำรายงานต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน
ควรจัดทำให้สนองต่อความต้องการของผู้ใช้ เนื้อหารายงานควรจะสั้นและตรง จุดประสงค์ที่สุด เพื่อที่ผู้อ่านสามารถจับใจความได้รวดเร็ว และถ้าไม่จำเป็นแล้ว ไม่ควรทำรายงานเกินความจำเป็น
ยังมีเหลืออีก 8 ข้อพรุ่งนี้มาอ่านกันต่อครับ

-------------------------
วันนี้ต่อจากเมื่อวานครับ เหลืออีก 8 ข้อ
6. จัดระเบียบตู้เอกสารและโต๊ะทำงาน
ควรมีการจัดระเบียบและทำความสะอาดอย่าง น้อยเดือนละครั้ง โดยการขจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็น จัดแยกของที่จำเป็นให้เป็นระเบียบ ตู้เอกสารและลิ้นชักโต๊ะทำงาน มักมีสิ่งของที่ไม่จำเป็นอยู่เสมอ หรือบางทีก็มีมากเกินความจำเป็นต่อการใช้งาน จึงควรมีการจัดการทิ้งบ้างตาม สมควร สำหรับโต๊ะทำงานนั้นควรมีการจัดระเบียบทุกครั้งหลังเลิกงานประจำวัน
7. จัดระเบียบป้ายประกาศต่างๆ
ตามบอร์ดติดประกาศ ควรมีการจัดระเบียบและทำความสะอาดอยู่เสมอ เอาประกาศที่ ล้าสมัยออกเสียบ้าง การติดประกาศควรติดให้เป็นระเบียบ อยู่ในระดับสายตาเพื่อให้น่าสนใจ และพนักงานบริษัทควรถือเป็นหน้าที่ที่ต้องอ่านประกาศทุกวันตอนเริ่มงานและ หลังเลิกงาน การใช้วิธีติดประกาศเพื่อแจ้งข่าวสารต่างๆ นั้น ยังช่วยลดปริมาณการถ่ายเอกสารลงได้อีกด้วย
8. จัดการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงาน
ทำการขจัดสิ่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะต่างๆ ออกไป เช่น ฝุ่น ผง ควัน ขยะมูลฝอย ควรจัดที่ทิ้งขยะให้เป็นสัดส่วน มีการ กำจัดขยะทุกครั้งหลังเลิกงาน และไม่ควรนำสิ่งของที่ไม่จำเป็นต่อการทำงานเข้ามาในสถานที่ทำงาน
9. มีการติดป้ายคำขวัญในหน่วยงาน
เช่น ป้ายคำขวัญของบริษัท นโยบายคุณภาพของบริษัท สโลแกนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบในสำนักงาน ควรติดไว้ให้พนักงานได้เห็นเด่นชัด เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจและปลุกจิตสำนึกในการร่วมมือกัน
10. การจัดแบ่งส่วนรับผิดชอบในการทำความสะอาด
อาจจัดให้มีการประกวดให้รางวัล สำหรับส่วนงานที่มีการจัดระเบียบหรือทำ 5 ส. ได้ดีที่สุดในแต่ละปี หรือแต่ละเดือน เพื่อให้เป็นการกระตุ้นพนักงานอยู่เสมอ มีการติดป้ายประกาศชมเชยพนักงานที่มีระเบียบวินัย ในการทำงาน ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมขององค์การด้วยดีเสมอมา เพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจ
11. ติดประกาศผลดีของการทำ 5 ส.
เมื่อดำเนินการกิจกรรม 5 ส. ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ควรมีการติด ประกาศให้พนักงานทราบถึงผลดีของการทำ 5 ส. ว่าสามารถลดเวลาในการทำงานได้มากน้อยเพียงใด ความสะดวกที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างไร หรืออาจจะทำกราฟแสดงเวลาการค้นหาสิ่งของ หรือเวลาที่ใช้ในการติดต่อลูกค้าที่ลดลง ตลอดจนประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการจัดทำหน่วยงานให้เป็นระเบียบ เพื่อให้พนักงานได้รับทราบ มีขวัญและกำลังใจในการปรับปรุงงานเพิ่มมากขึ้น
12. จัดให้มีระบบข้อเสนอแนะในการทำงานและการปรับปรุงงาน
อาจจะกระทำได้โดยการทำกล่องรับข้อเสนอแนะไว้ และให้รางวัลแก่ผู้เสนอแนะทุกคน ถ้าข้อเสนอแนะใดสามารถกระทำได้ก็ควรนำไปปฏิบัติทันที ขวัญและกำลังใจของพนักงาน จะสามารถวัดได้จากจำนวนข้อ เสนอแนะที่ได้
13. ผู้บังคับบัญชา ควรมีการทักทายปราศรัยกับพนักงานทุกวัน
เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะหรือความเดือดร้อนต่างๆ ของพนักงาน แล้วนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเท่าที่ทำได้ จะทำให้พนักงานมี กำลังใจในการทำงานมากขึ้น

5 ส คืออะไร

ส สะสาง

     คือการแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการ “แยกเพื่อขจัดออกไป
แนวทางการทำ ส สะสาง
สะสาง

ส สะดวก

     คือ การจัดวางของที่จำเป็นให้ง่ายต่อการน้ำไปใช้”หยิบง่าย หายรู้ ดูงามตา
ขั้นตอนการทำ ส สะดวก
         ขจัดของที่ไม่ต้องการ ส่วนที่ต้องการวางให้เป็นระเบียบ
          กำหนดที่วางให้แน่ชัด แบ่งเขตวางและทาสีตีเส้นให้ชัดเจน
         ติดป้ายแสดงจุดวางของ และติดป้ายชื่อของซึ่งจะวาง
          ทำตารางตรวจเช็คพื้นที่และของต่างๆที่วางอย่างสม่ำเสมอ

ส สะอาด

     คือ การทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้  เป็นประจำ “ปัดกวาดเช็ดถูดูงามตา
เคล็ดลับการทำ ส สะอาด
         ปัดกวาดเช็ดถูทุกซอกทุกมุมเริ่มต้นที่พื้น
          กำหนดเส้นแย่งเขตพื้นที่ทำความสะอาดให้แน่นอน
          ขจัดต้นเหตุอันเป็นบ่อเกิดของความสกปรก
          ดูแลความสะอาดลึกเข้าไปถึงจุดเล็กๆ

ส สุขลักษณะ

     คือ สภาพหมดจดสะอาดตา โดยรักษา 3ส แรก ให้คงสภาพอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้น “ดูแลให้ดีขึ้น
ขั้นตอนการทำ ส สุขลักษณะ
            ขจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพและจิตใจ เช่น ฝุ่นละออง เสียงดัง
            ปรับปรุงสถานที่ ให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น ปลูกต้นไม้ ทาสีใหม่
            ปรับปรุงตัวเองโดยการแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย เหมาะสม
            ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองให้แข็งแรงสมบูรณ์

ส สร้างนิสัย

     คือ การปฏิบัติ 4ส ข้างต้นเป็นประจำให้ติดเป็นนิสัย “ทำบ่อยๆให้ติดเป็นนิสัย” ส สร้างนิสัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะเป็นจุดประสงค์หลักในการทำกิจกรรม 5ส
สูตรสำเร็จของ ส สร้างนิสัย
            ทบทวน 4ส ที่กล่าวมาแล้วและกระทำเป็นประจำ
            ศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องกฎ ระเบียบ และมาตรฐาน 5ส ต่างๆรวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับ
            เคารพและปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมาตรฐาน 5ส

กิจกรรม 5 ส การทำ 5ส พร้อมกับการทำงาน

5ส เป็นกิจกรรมปรับปรุงการทำงานของพนักงานด้วยตนเองอย่างหนึ่งได้แก่การดำเนิน การตามหลักการ "สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย" ในสถานที่ทำงานของตนเองทำให้บริษัทมีพนักงานที่มีระเบียบวินัยจากจิตสำนึก ของเขาเอง ทำให้สถานที่ทำงานสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสวยงาม มีความปลอดภัย ลดความสูญเปล่าในการทำงาน คุณภาพของงานและคุณภาพสินค้าดีขึ้น
5ส

5ส คืออะไร

5ส เป็นการนำ อักษรตัวหน้าของคำภาษาอังกฤษที่เขียนตามการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาใช้เพื่อ ให้สามารถจดจำได้ง่ายจึงกลายมาเป็น คำว่า 5ส ตามลำดับดังนี้
  • S1 : SEIRI : สะสาง : ส1 (Clearing Up)
  • S2 : SEITON : สะดวก : ส2 (Organizing)
  • S3 : SEISO : สะอาด : ส3 (Cleaning)
  • S4 : SEIKETSU : สร้างมาตรฐาน : ส4 (Standardizing)
  • S5 : SHITSUKE : สร้างนิสัย : ส5 Training & Discipline)
ญี่ปุ่นได้นำ ส.แต่ละตัวไปใช้และพัฒนาอย่างจริงจังโดยจัดทำให้เป็นระบบมีการกำหนดขั้นตอน ในการดำเนินกิจกรรม มีการติดตามผลงานเป็นระยะๆ อีกทั้งยังมีวิธีการควบคุมกิจกรรมให้เกิดความยั่งยืนได้ จึงได้รับความนิยมและเผยแพร่ไปทั่วประเทศญี่ปุ่น

วัตถุประสงค์ของ 5ส

5ส. เป็นปัจจัยพื้นฐานในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นเครื่องมือตัวแรกที่ถูกนำมาใช้ก่อนที่จะใช้เครื่องมือระดับสูงขึ้นไป เช่น TPM TQM และ ISO เป็นต้น โดยกำหนดให้ ส1 ,ส2 ,ส3 เป็นการจัดการในเรื่องของวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ และสถานที่ ส่วน ส4 และ ส5 เป็นการจัดการเรื่องของคน โดยมีเป้าหมายให้สถานที่ทำงานสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ลดความสูญเปล่าในการทำงาน สินค้ามีคุณภาพดี เป็นที่ประทับใจของลูกค้าตลอดไป

องค์ประกอบของ 5ส

กิจกรรม 5ส นั้น ส.ทุกตัวจะถูกกำหนดคำนิยามไว้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องดังนี้
ส1 : สะสาง คือการแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็นและขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไปโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 3 ขั้นตอนประกอบด้วย
  • สำรวจ
  • แยก
  • ขจัด
ส2 : สะดวก คือการจัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของต่างๆในสถานที่ทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อความ สะดวกปลอดภัยและคงไว้ซึ่งคุณภาพประสิทธิภาพในการทำงานโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย
  • กำหนดของที่จำเป็น
  • แบ่งหมวดหมู่
  • จัดเก็บให้เป็นระบบมีระเบียบ
  • บ่อยอยู่ใกล้นานๆใช้อยู่ไกล
ส3 : สะอาด คือการทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สถานที่และใช้ เป็นการตรวจสอบและบำรุงรักษาไปด้วยโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย
  • กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ
  • ขจัดต้นเหตุของความสกปรก
  • ทำความสะอาดแม้แต่จุดเล็กๆ
  • ปัด กวาด เช็ด ถู พื้นให้สะอาด
ส4 : สร้างมาตรฐาน คือการรักษามาตรฐานของความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้คงอยู่ตลอดไป
  • ไม่มีสิ่งของไม่จำเป็นอยู่ในพื้นที่
  • ไม่มีสภาพรกรุงรัง
  • ไม่มีสิ่งสกปรกตกค้าง
ส5 : สร้างนิสัย คือการสร้างนิสัยในการมีจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานตามระเบียบและข้อบังคับอย่างเคร่งครัดรวมทั้ง อบรมให้พนักงานรู้จักค้นคว้า และปรับปรุงสถานที่ทำงาน
  • Visual Control
  • วัดประสิทธิผลการทำ 5ส
  • ประกวดคำขวัญ 5ส
  • เปรียบเทียบภาพก่อนทำ-หลังทำ 5ส

ประโยชน์ของ 5ส

5ส มีคุณค่าในการพัฒนาคนให้ปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดเป็นนิสัยที่ดีมีวินัย อันเป็นรากฐานของระบบคุณภาพเพราะเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ทุกคนร่วมกันคิด ร่วมกันทำเป็นทีม ค่อยเป็นค่อยไปไม่ยุ่งยาก ไม่รู้สึกว่าการปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบวินัยเป็นภาระเพิ่มขึ้นอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การดังต่อไปนี้
  1. สิ่งแวดล้อมในการทำงานดี เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่พนักงาน
  2. ลดอุบัติเหตุในการทำงาน
  3. ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้อวัสดุเกินความจำเป็น
  4. ลดการสูญหายของวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ
  5. พื้นที่การทำงานเพิ่มขึ้นจากการขจัดวัสดุที่เกินความจำเป็นออกไป
  6. เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
  7. สถานที่ทำงานสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า
  8. พนักงานมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมมากขึ้น
  9. สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของต่อองค์การของพนักงาน

ขอบเขตการให้บริการของสมาคมฯ

สมาคมฯ ให้คำปรึกษาในการผลักดันทฤษฎี 5ส ส่งถ่ายไปให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยจิตสำนึกของพนักงาน โดยมีขอบเขตการดำเนินงานตั้งแต่ การให้การฝึกอบรม การกำหนดนโยบายและเป้าหมาย การวางแผนกิจกรรม การดำเนินการกิจกรรม การจัดตั้งคณะกรรมการ การประเมินผล และให้รางวัล โดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

5ส คือ

5ส


5ส คือ แนวทางที่ใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้นในวงการการผลิตและวงการงานบริการเป็นต้น โดยการปฏิบัติตามหลัก 5ส ที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น โดยในญี่ปุ่นเรียกกันว่า 5S ซึ่งได้แก่
  • สะสาง (ญี่ปุ่น: 整理 seiri ?) คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการ และขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
  • สะดวก (ญี่ปุ่น: 整頓 seiton ?) คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งานและปลอดภัย
  • สะอาด (ญี่ปุ่น: 清掃 seiso ?) คือ การทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องจักร อุปกรณ์ และ สถานที่ทำงาน
  • สุขลักษณะ (ญี่ปุ่น: 清潔 seiketsu ?) คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดี ตลอดไป
  • สร้างนิสัย (ญี่ปุ่น:  shitsuke ?) คือ การอบรม สร้างนิสัย ในการปฏิบัติงานตามระเบียบ วินัยข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

กิจกรรม 5ส

การควบคุม 5ส ตามพื้นฐานในการควบคุมการทำงาน เรียกว่า กิจกรรม 5ส แท้ที่จริงแล้วประสิทธิภาพของ 5ส. มีความงดงามต่อสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานในตัวของมันเอง และเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้ กับพนักงานอีกด้วย ทำ 5ส. ให้ถึงที่สุดผลที่ได้รับทางอ้อมก็คือ ระบบประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น, ป้องกันการเกิดสิ่งที่ไม่ดีเข้าสู่ขบวนการอื่น, เพิ่มความปลอดภัยในการทำงานให้มั่นคง สิ่งเหล่านี้ในสถานที่ทำงานเราจะเห็นเป็นประจำก็คือ สะสาง, สะดวก และจุดที่เป็นปัญหาสามารถทำให้จับต้องได้เห็นอย่างต่อเนื่อง