Monday, April 15, 2013

อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติกิจกรรม

     เก้าอี้
            1. เลื่อนเก็บใต้โต๊ะเมื่อเลิกงาน
            2. ไม่พาดเสื้อไว้ที่พนักเก้าอี้
            3. ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
            4. ซ่อมแซมเมื่อมีการชำรุด
            5. มีเบาะรองนั่งได้ไม่เกิน 1 ชิ้น
            อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้สำนักงาน
           

1. สภาพอุปกรณ์/เครื่องมือ/เครื่องใช้สำนักงานไม่ชำรุดและพร้อมใช้งาน
            2. ไม่มีสิ่งของ/อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องวางปะปนอยู่กับอุปกรณ์/เครื่องมือ/เครื่องใช้สำนักงาน
           

3. มีการจัดวางอุปกรณ์/เครื่องมือ/ สำนักงานส่วนกลาง
            4. มีผู้รับผิดชอบดูแลความสะอาดเรียบร้อยของอุปกรณ์/เครื่องมือ/เครื่องใช้สำนักงาน
           

โทรศัพท์
            1. ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
            2. ติดตั้งสายอย่างมีระเบียบ
            3. จัดวางอย่างมีระเบียบ
            4. มีสมุดโทรศัพท์ได้ไม่เกิน 1 เล่มใต้โทรศัพท์
           

ตู้เอกสาร
           

1. คัดแยกและตรวจสอบเอกสารทุก 3 เดือน
            2. จัดแบ่งพื้นที่ในตู้ เพื่อเก็บอุปกรณ์
            3. ติดป้ายสันแฟ้ม เพื่อสะดวกแก่การค้นหา
            4. ไม่วางสิ่งของบนหลังตู้จนทำให้เกิดความไม่สวยงาม
           

ห้องประชุม
           

1. จัดประกาศ/ขจัดข้อความไม่จำเป็นออกไป
            2. ไม่นำสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องไว้ในห้องประชุม
            3. จัดโต๊ะ เก้าอี้ หลังการใช้งาน
            4. ปิดเครื่องปรับอากาศ ไฟฟ้า เครื่องเสียง หลังการประชุมทุกครั้ง
           

5. จัดและทำความสะอาดม่านอย่างสม่ำเสมอ
            6. จัดเครื่องเสียงให้พร้อมใช้งานอย่างเป็นระเบียบ
           

WHITE BOARD
            1. ทำความสะอาดหลังใช้งานทุกครั้ง
            2. ทำความสะอาดที่ขอบ/แปรงสม่ำเสมอ
            3. ตรวจสอบว่ามีปากกาพร้อมใช้งาน
           

ห้องรับแขก
            1. หลังการใช้เก็บแก้วน้ำทันที
           

2. ทำความสะอาดโต๊ะ พื้นทุกวัน
            3. จัดโต๊ะ เก้าอี้ หลังการใช้ทุกครั้ง
            บริเวณทางเดิน
            1. ไม่สูบบุหรี่ขณะอยู่ในทางเดิน
            2. ไม่วางสิ่งของใดๆ ไว้
            3. มีที่ทิ้งขยะ/แยกประเภท
            4. ไม่ส่งเสียงดังตามทางเดิน
            BOARD
            1. ขจัดประกาศเก่าๆ ออก
            2. ข้อมูลข่าวสาร ทันสมัยเสมอ
            3. ติดประกาศอย่างมีระเบียบ
            4. อุปกรณ์พร้อมที่จะใช้
            5. BOARD ตั้งอยู่ในที่เหมาะสม
           
     
     

เอกสารที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติกิจกรรม
      ใบมอบหมายงาน
      แบบประเมินการทำโครงการ การประยุกต์ใช้ 5 ส เพื่อพัฒนางานและเพิ่มผลผลิต

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ 3

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ


     
สำนักงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
           
      นโยบาย 5ส ของหน่วยงาน
      ด้วยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีนโยบายให้มีการ ดำเนินกิจกรรม 5ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและ
      สร้างนิสัยเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร เป็นพื้นฐานในการพัฒนา
      การปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางไปสู่การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์
      จึงกำหนดนโยบายเป็นแนวปฏิบัติกิจกรรม 5ส ดังนี้
      1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเข้าใจ และนำหลักการทำกิจกรรม 5ส ไปปฏิบัติ
      อย่างจริงจังและต่อเนื่องเสมือนเป็นภารกิจประจำ
      2. ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับให้การสนับสนุน ส่งเสริม และเป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม 5ส และกำกับ ติดตาม ดูแลตลอดจนให้
      คำแนะนำและร่วมแก้ไขปัญหาโดยให้ถือเป็นภารกิจที่สำคัญ
      3. จัดให้มีการทำกิจกรรม 5ส เป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง
      4. จัดให้มีการตรวจติดตาม ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม 5ส เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
      5. จัดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 5ส เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์
     
และพิจารณาให้รางวัลในความร่วมมือการทำกิจกรรม 5ส ทุกพื้นที่
     
      กิจกรรมการจัดบอร์ด 5ส
      คณะกรรมการประเมิน 5ส ของสถาบันได้กำหนดให้มีกิจกรรมการจัดบอร์ดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน 5ส ซึ่งบอร์ดจะต้องมี
      องค์ประกอบ ดังนี้
            1. แผนผังโดยรวมของพื้นที่ 5ส (Lay out) : ติดรูปแสดงสมาชิกที่รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ย่อย การแสดงแผนผังโดยรวมเพื่อดูว่า
      มีพื้นที่รับผิดชอบเท่าใด ใครเป็นผู้รับผิดชอบบ้าง เพื่อประโยชน์ในการติดตามผล ผู้รับผิดชอบพื้นที่ควรมีการหมุนเวียนเปลี่ยนกัน
      เพื่อประเมินผลความก้าวหน้าของกิจกรรมเป็นระยะ
            2. เป้าหมายของการทำกิจกรรม 5ส : สอดคล้องกับการที่ได้ทำการสำรวจพื้นที่ก่อนทำกิจกรรมว่ามีความเป็นไปได้มากน้อย
      เพียงใดในการที่จะบรรลุเป้าหมายในช่วงระยะเวลาที่เรากำหนดขึ้น
            3. มาตรฐาน 5ส : กลุ่มจะต้องเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของแต่ละ ส โดยสมาชิกในกลุ่มจะต้องสำรวจและ พิจารณาว่าในพื้นที่นั้น ๆ
      มีปัญหาอะไรและควรมีอุปกรณ์ที่จำเป็นอะไรบ้าง โดยกำหนดแยกเป็นรายละเอียดของ ส สะสาง จากนั้นก็กระจายไปยัง ส2 ส3 และ ส4
      กำหนดเป็นมาตรฐานของพื้นที่ขึ้นแล้วนำมาลองปฏิบัติและพัฒนามาตรฐานของงานให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ
            4. ถ่ายภาพแสดงสภาพพื้นที่ก่อนทำ 5ส และหลังทำเป็นระยะๆ วัน เดือน ปี ที่ถ่ายภาพแสดงให้เป็นถึงความเปลี่ยนแปลง
      ในการทำ 5ส ในมุมเดียวกัน หรือเป็นภาพแสดงการทำกิจกรรมของสมาชิกในพื้นที่
            5. ปฏิทินกิจกรรมการดำเนินงาน 5ส เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้บุคลากรรับทราบ
            6. ผลการประเมินเพื่อเป็นการประเมินผลการดำเนินการ 5ส ของพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง และผลการประเมินภายนอก
      จากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 5ส
     
      มาตรฐานกลางของการทำ 5ส
            โต๊ะทำงาน
            1. วางสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับงานไว้บนโต๊ะได้ไม่เกิน 2 ชิ้น
            2. ไม่วางของไว้ใต้โต๊ะ ยกเว้นรองเท้า 1 คู่ (วางให้เป็นระเบียบ)
            3. จัดระเบียบของใช้ในลิ้นชัก
            4. ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
            5. ทำความสะอาดทุกซอกทุกมุมปีละ 2 ครั้ง
           

6. ซ่อมแซมเมื่อมีการชำรุด
            7. ไม่วางสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับงานไว้ใต้กระจก

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ 2

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ
     
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2552
            
      หลักการและเหตุผล
      ในการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ปัจจุบัน กิจกรรม 5ส ได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการประกันคุณภาพ
      ของหน่วยงาน หลายประเทศและในหลายองค์กรของประเทศไทยว่าสามารถส่งผลดีต่อการพัฒนาองค์กรหลายประการ เช่น บุคลากรได้มีโอกาส
      พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ มีความสามัคคีและมีการทำงานเป็นแบบทีมงานภายในองค์กร เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้องค์กรมีการการปรับเปลี่ยน
      ไปในทิศทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

      วัตถุประสงค์
      1. เพื่อให้หน่วยงานระดับกองของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการประกันคุณภาพหน่วยงานโดยจัดกิจกรรม 5ส ร่วมกัน
      และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์แม่โจ้ใสสะอาด
      2. เพื่อประชาสัมพันธ์และจัดอบรมให้บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม 5ส
      สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
      3. เพื่อให้บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันแบบทีมงานเพื่อเป็นการบูรณาการทรัพยากร
      สามัคคีและขวัญกำลังใจ
      
      แผนการดำเนินกิจกรรม 5ส ประจำปีงบประมาณ 2552
      จากการดำเนินกิจกรรม 5ส ของสำนักงานอธิการบดี ที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และประสบความสำเร็จในระดับที่เป็นที่น่าพอใจ
      กล่าวคือ หน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดีได้รับการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและมีการทำงานแบบ
      ทีมงาน และเนื่องจากกิจกรรม 5ส เป็นแนวทางหนึ่งของระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่อง
      จึงควรมีการดำเนินกิจกรรม 5ส ของสำนักงานอธิการบดีในขั้นบูรณาการพร้อมทั้งจัดให้บุคลากรในสังกัดได้รับความรู้เพิ่มเติมในรูปของการอบรม
      ศึกษาดูงาน และประชาสัมพันธ์โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานมุ่งให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับมหาวิทยาลัยด้านการดำเนินกิจกรรม 5ส
      ซึ่งประกอบด้วย
      
            สะสาง (Seiri) มั่นใจว่าในสถานที่ทำงานมีเฉพาะของที่จำเป็นใช้งานเท่านั้น
            สะดวก (Seiton) มีที่สำหรับของทุกสิ่งและของทุกสิ่งต้องอยู่ในที่ของมัน
            สะอาด (Seiso) การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ
            สุขลักษณะ (Seiketsu) รักษามาตรฐานและปรับปรุงให้ดีขึ้น
            สร้างนิสัย (Shitsuke) สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
            
      ตัวชี้วัดผลผลิต
            1. มีการบูรณาการทุกกิจกรรมในกิจกรรม 5ส 1 ระบบ
            2. กิจกรรม 5ส ของสำนักงานอธิการบดี ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง มีการขับเคลื่อนต่อเนื่องแบบ PDCA
            3. การบริหารจัดการภายในสำนักงานอธิการบดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บุคลากรปฏิบัติงานเต็มศักยภาพ
      และมีการทำงานแบบทีมงาน
            4. สำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานดีเด่นระดับมหาวิทยาลัยด้านการดำเนินกิจกรรม 5ส
            5. บุคลากรสำนักงานอธิการบดี ร้อยละ 100 ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม 5ส และนำกลับมาพัฒนางาน
      ของตนเอง
          

6. บุคลากรสำนักงานอธิการบดีร้อยละ 95 มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ตามศักยภาพ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ
     
สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ. นครราชสีมา
           
           
   
      วัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรม 5ส
      เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคลากร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในการดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มี
      ความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยใช้กิจกรรม 5ส สิ่งที่คาดหวังจากการปฏิบัติกิจกรรม 5ส ของบุลากร
      สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์มีความคาดหวัง ดังต่อไปนี้
      1. รู้จักสะสาง จัดระเบียบพื้นที่ในการทำงานให้สะอาด สะดวก และมีพื้นที่ว่างมากขึ้น
      2. สามารถค้นเอกสารได้รวดเร็ว และจัดเก็บเข้าที่หลังจากใช้งาน
      3. รู้จักสร้างระเบียบวินัยให้กับตนเอง และหน่วยงาน
      4. มีความสัมพันธ์ที่ดีในหน่วยงาน สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
      5. ลดการเกิดอุบัติเหตุในหน่วยงาน มีความปลอดภัยมากขึ้น
      6. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
      7. ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพการศึกษา
      8. มีระบบการทำงานที่เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
     
      การพัฒนา 5ส ของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
     

คณะอนุกรรมการได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนประจำปี สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วได้แก่ กิจกรรมประกวดคำขวัญ ประชุมชี้แจง
      การดำเนินกิจกรรม 5ส และพื้นที่รับผิดชอบแก่บุคลากร จัดทำคู่มือและมาตรฐาน 5ส และปรับปรุงแก้ไขทุกปี จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์การทำ 5ส
      ของสำนักวิชาฯ ประเมินผล จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ร่วมกับทางมหาวิทยาลัย และจัดพาบุคลากรไปดูงาน 5ส ภายนอกได้แก่ โรงพยาบาล
      จิตเวช นครราชสีมา, บริษัท ทาคาฮาชิ โคราช (1995) จำกัด, บริษัท ซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสูงเนิน, โรงพยาบาลมหาราช
      นครราชสีมา และบริษัท รอยัล พอร์ซเลน จำกัด (มหาชน) และให้รางวัลแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผลการประเมินยอดเยี่ยมประจำปี
     

การจัดทำคู่มือมาตรฐาน 5ส
      คณะอนุกรรมการฯ จัดทำคู่มือและมาตรฐาน 5ส สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ระหว่างปี 2544 - 2547 จำนวนปีละ 100 เล่ม
      และจัดทำเพิ่มจำนวนเป็น 150 เล่ม ในปี 2548 และปี 2549 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน 5 ส
      บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม
      ปี 2544 พนักงานสายปฏิบัติการ แบ่งเป็นประเภทกลุ่มรับผิดชอบ   พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน และประเภทพนักงาน
      รับผิดชอบพื้นที่ของตนเอง
      ปี 2545 พนักงานสายปฏิบัติการและผู้บริหาร
      ปี 2546 พนักงานสายปฏิบัติการ ผู้บริหาร และคณาจารย์
      ปี 2547 พนักงานสายปฏิบัติการ ผู้บริหาร และคณาจารย์
      ปี 2548 พนักงานสายปฏิบัติการ ผู้บริหาร และคณาจารย์
      ปี 2549 พนักงานสายปฏิบัติการ ผู้บริหาร และคณาจารย์
     
      รางวัลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรม 5ส สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
     

รางวัลหน่วยงานตัวอย่าง กิจกรรม 5 สิงหา 5ส ประจำปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ขั้นตอนการดำเนินงานของ 5 ส

     4. ส สุขลักษณะั (SEIKETSU) คือการรักษาสภาพสะอาดหมดจดเพื่อให้เกิดสุขลักษณะที่ดีของสถานที่ทำงานที่ได้มีการปฏิบัติ
      โดยทำ 3 ส แรก คือ ส สะสาง ส สะดวก และ ส สะอาด ให้คงอยู่ มีความต่อเนื่องและเป็นระบบ และต้องกำหนดขั้นตอนของ ส สุขลักษณะ

      อย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ ต่อไป
     

4.1 ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้เกิด ส สุขลักษณะ
      1) กำหนดให้มีการปฏิบัติ 5ส อย่างต่อเนื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ หรือหัวหน้าควบคุมพื้นที่ มีการดำเนินการ รณรงค์ กระตุ้น
      ให้มีการปฏิบัิติงาน ปฏิบัติ 3 ส แรก อย่างต่อเนื่อง
      2) กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ และแจ้งให้ทุกคนได้ทราบ
      3) หัวหน้างานควรหมั่นตรวจสอบการปฏิบัติกิจกรรม 5ส ของหน่วยงาน ถ้าพบปัญหา อุปสรรคควรรีบแก้ไข และรักษามาตรฐาน
      สถานที่ทำงานให้คงอยู่ตลอดไป
      4) มีการปรับปรุงสถานที่ทำงานของตนเองอยู่เสมอ
     

4.2 ประโยชน์ของ ส สุขลักษณะ
      1) รักษามาตรฐานความเป็นระเบียบเรียบร้อย
      2) เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
      3) สภาพแวดล้อมในการทำงานดีจะทำให้สุขภาพกายและใจของผู้ปฏิบัติงานดีด้วยเช่นกัน
      4) ทำให้กิจกรรม 5ส มีความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพในการทำงาน
     
      5. ส สร้างนิสัย (SHITSUKE) คือการสร้างนิสัยให้มีจิตสำนึก มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
      พร้อมทั้งมีการอบรม การะตุ้นให้มีการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นนิสัยที่ดีในการปฏิับัติ อันจะทำให้หน่วยงานประสบผลสำเร็จ
      อย่างยั่งยืน
     

5.1 ขั้นตอนการดำเนินงานของ ส สร้างนิสัย
      1) จัดอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของ 5 ส
      2) ผู้บังคับบัญชาควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
      3) คณะกรรมการ 5ส และผู้บริหารควรตรวจเยี่ยมพื้นที่ทำ 5ส อย่างต่อเนื่อง
      4) จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำ 5ส อย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน เช่น จัดให้มีการประกวด การให้รางวัล
     

5.2 ประโยชน์ ของ ส สร้างนิสัย
     

1) เป็นองค์กรที่มีมาตรฐาน มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่ดีในการปฏิบัิติงาน
      2) ผู้ปฏิบัิติงานมีขวัญกำลังใจที่ดี และมีส่วนร่วมในการสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
      3) เสริมสร้างนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
      4) สินค้า และบริการมีคุณภาพ สู่ความเป็นเลิศ

     

สรุป 5ส นั้นเป็นกิจกรรมพื้นฐานของการสร้างคุณภาพ และการเพิ่มผลผลิต ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
      เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบริหารคุณภาพ 5ส เกิดความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย 5ส จะประสบ
      ผลสำเร็จได้นั้นจะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องทำเป็นแบบอย่าง และมีความมุ่งมั่น
      ในการทำ 5ส อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ตัวอย่างหน่วยงานที่มีการดำเนินการทำกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่อง ได้แก่

หลักในการทำ 5 ส.

2.2 หลักในการทำ ส สะดวก ในที่ทำงาน

      1) มีการจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สะดวกในการใช้งาน มีจำนวนเหมาะสม โดยมีการวางผังที่คำนึง
      ถึงประสิทธิภาพของการทำงาาน
      2) ในการทำงานควรมีพื้นที่ทำงาน ป้ายบอกแผนกงาน ขั้นตอนการปฏิบัติกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มาติดต่องาน
      3) ตู้เอกสารควรแบ่งหมวดหมู่เอกสาร หน้าตู้ควรมีป้ายบอกว่ามีเอกสารอะไรอยู่ในตู้บ้าง แฟ้มเอกสารควรจัดเป็นหมวดหมู่
      ประเภทเอกสารควรจัดทำป้ายบอกให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกในการค้นหา
      4) แบบฟอร์มที่ใช้งานควรทำป้ายบอกให้ชัดเจน
      5) เอกสารที่สำคัญควรเก็บไว้ในที่เหมาะสม และเก็บในกล่องที่มีป้ายบอก
      6) กุญแจ หรือวัสดุต่าง ๆ ควรมีหมายเลขกำกับ และรหัสกำกับ หาจุดวางที่เหมาะสม อาจจะอยู่บนแผง หรือในกล่อง
      7) ป้ายประกาศ ควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
      8) อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยควรอยู่ในสถานที่ใช้งานและมีคำแนะนำการใช้
      9) มีการจัดหาอุปกรณ์ำสำรองงานอยู่เสมอ
      10) มีการสะสาง File ข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานในคอมพิวเตอร์ และจัดเก็บ File อย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการค้นหา

      2.3 ประโยชน์ของ ส สะดวก  
 
            1) ลดความสูญเสียในเรื่องเวลาในการค้นหาสิ่งของต่าง ๆ    
            2) สถานที่ทำงานสะอาด และสะดวกในการปฏิบัติงาน
            3) เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ลดอุบัติเหตุ
            4) เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
            5) เกิดความรวดเร็วในกาีรทำงาน
            6) สะดวกในการหยิบจับเครื่องมือ อุปกรณ์ มาใช้งาน
            7) เมื่อมีของหายไปจากหน่วยงานก็จะทราบโดยทันที

      3. ส สะอาด (SEISO) คือการทำความสะอาด ปัด กวาด เช็ดถู อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และสถานที่ทำงานไม่ให้มีฝุ่น
      ขจัดความสกปรกต่าง ๆ โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และทำอยู่เป็นประจำ
     

3.1 ขั้นตอนในการทำ ส สะอาด
      1) กำหนดพื้นที่ทำความสะอาด และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
      2) ขจัดต้นเหตุของความสกปรก
      3) ทำความสะอาดในทุก ๆ จุด แม้แต่จุดเล็ก ๆ
      4) กำหนดเวลาในการทำความสะอาด โดยจะต้องกำหนดให้เหมาะสม เช่น ก่อนและหลังเลิกงาน ให้เวลา 5 นาทีสำหรับ 5ส
      ทุกวัน จัดชั่วโมง 5ส ประจำวัน จัดให้มีวัน 5ส ประจำสัปดาห์ เช่น วันศุกร์ และจัดให้มีวันทำความสะอาดใหญ่ (Big cleaning Day) ในทุก ๆ ปี
      5) กำหนดรายละเอียดการทำความสะอาดให้ชัดเจน เช่น จุดที่ต้องทำความสะอาด จะใช้อุปกรณ์ และวิธีอย่างไรในการทำ
      6) จัดให้มีการทำความสะอาดประจำวันทุกวัน จนเป็นนิสัยของทุกคน
     

3.2 หลักในการทำ ส สะอาด

      1) ปัดกวาด เช็ดถูแม้แต่จุดเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครสังเกต ทำความสะอาดอย่างทั่วถึงและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี
      2) เครื่องจักรที่ถูกปล่อยให้สกปรก จะเกิดปัญหาอยู่เสมอ ๆ เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตต่ำ จึงจำเป็นที่ผู้ใช้เครื่องจักรจะต้อง
      ทำความสะอาดด้วยตัวเองเป็นประจำ เท่ากับเป็นการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องจักรพร้อมใช้งานเสมอ
      3) ขจัดสาเหตุอันเป็นบ่อเกิดของเศษขยะความสกปรก เลอะเทอะ เช่น น้ำมันรั่ว การฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง
     

3.3 ประโยชน์ของ ส สะอาด
      1) ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดี ทุกคนกระตือรือร้นในการทำงาน
      2) อายุการใช้งานของอุปกรณ์ยืนยาว
      3) อุบัติเหตุในการทำงานลดลง
      4) ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน
      5) สร้างความน่าเชื่อถือกับผู้ที่มาติดต่องาน

ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม 5ส

ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม 5ส

      1. ส สะสาง (SEIRI) การสะสาง คือการแยกของที่ใช้และไม่ใช้ออกจากกัน โดยขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป ซึ่งลักษณะหน่วยงาน
      ที่ควรนำหลักการ สะสางไปใช้ได้แ่ก่หน่วยงานที่มีลักษณะที่่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกว่่า ที่ทำงานคับแคบขึ้นเรื่อย ๆ เปลืองพื้นที่ไม่มีที่เก็บของ
      ทราบว่ามีของที่ต้องการใช้แต่หาไม่เจอ เสียเวลาในการค้นหานาน และอุปกรณ์ เครื่องมือหายอยู่เป็นประจำ และสิ่งที่ควรคำนึงถึืงใน
      การสะสาง มีดังนี้
     

1.1 ขั้นตอนของการสะสาง ในขั้นตอนของการสะสางจะต้องสำรวจสิ่งของในพื้นที่ปฏิบัติงานโดยแบ่งของที่สำรวจได้เป็น 3 ประเภท
      1) ของที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร อุปกรณ์ เครื่องมือ ควรจัดวางของเหล่านั้นไว้ในพื้นที่การปฏิบัติงานหรือพื้นที่
      ที่ง่ายต่อการหยิบจับ
      2) ของที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงาน คือสิ่งของที่ไม่จำเป็นในการทำงานสามารถสะสางได้ทันที เช่น เศษกระดาษ เอกสาร
      ที่ไม่ใช้งานแล้ว ขยะ เศษเหล็ก เศษวัสดุ เป็นต้น
      1.2 จุด หรือบริเวณที่ควรให้ความสนใจในการสะสาง    
            1) บริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน
            2) ตู้เก็บของ / ตู้เก็บเอกสาร / ตู้เก็บเครื่องมือ
            3) ชั้นวางของ
            4) ห้องเก็บของ / คลังพัสดุ
            5) ลิ้นชักเก็บของ / ลิ้นชักโต๊ะทำงาน
            6) พื้นที่บริเวณรอบ ๆ โต๊ะทำงาน
            7) มุมอับของห้อง
      1.3 ประโยชน์ของการสะสาง    
            1) มีพื้นที่ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
            2) ลดความสูญเสียในการซื้อตู้ / ชั้นวางเครื่องมือ
            3) ลดความสูญเสียพื้นที่ในการจัดเก็บเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
            4) ไม่มีการปะปนระหว่างของที่ใช้งานและไม่ใช้งาน
            5) ลดจำนวนวัสดุต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในการใช้งาน
            6) ลดเวลา และเกิดความสะดวกในการตรวจสอบวัสดุคงเหลือ
           
      2. ส สะดวก (SEITON) คือการจัดเก็บเอกสาร จัดวางเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เกิดความสะดวก เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
      ง่ายต่อการหยิบจับ เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
     

2.1 ขั้นตอนในการทำ ส สะดวก
      1) วางแผน และกำหนดพื้นที่ในการจัดวางสิ่งของให้ชัดเจน
      2) แบ่งหมวดหมู่ และจัดวางให้เป็นระเบียบ โดยอาจเีรียงลำดับ หรือจัดวางให้เกิดความสะดวกต่อการใช้งาน
      3) ทำแผนผังตำแหน่งวางเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
      4) วางของให้เป็นที่และมีป้ายบอกที่ชัดเจน
      5) ของที่ใช้งานบ่อยควรเก็บไว้ไกล้ตัว และจัดเก็บอย่างมีระบบ
      6) ตรวจเช็คอุปกรณ์ อยู่เป็นประจำ ว่่ายังอยู่ในสภาพดี และอยู่ในตำแหน่งที่กำหนด

ประโยชน์จากการทำ 5ส

     ประโยชน์จากการทำ 5ส

      1. สถานที่ทำงานสะอาด สะดวก และมีความปลอดภัย
      2. สร้างบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น
      3. บุคลากรทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีความถูกต้องมากขึ้น
      4. เกิดความร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้น และผู้ปฏิบัติงานเกิดความรักความผูกพันธ์กับองค์กรเพิ่มมากขึ้น
      5. บุคลากรมีระเบียบวินัยเพิ่มมากขึ้น และตระหนักถึงความสำคัญของ 5 ส
      6. ขจัดความสิ้นเปลืองของพื้นที่
      7. ลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
      8. ลดเวลาในการค้นหาสิ่งของมาใช้งานเพราะมีการจัดเก็บที่เป็นระเบียบทำให้หยิบจับได้ง่าย
      9. ตรวจสอบหาิสิ่งของได้ง่าย (หยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา)
      10. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด
      11. เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานมากขึ้น และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน
      12. เพิ่มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร และอุปกรณ์
      13. ลดอัตราของเสีย และลดต้นทุน
      14. สุขภาพกาย สุขภาพใจของผู้ปฏิบัติงานมีความสมบูรณ์ คุณภาพชีวิตในการทำงานดีขึ้น

      ขั้นตอนการดำิเนินงาน 5 ส ขององค์กร
      1.ขั้นเตรียมการ (Preparation) หน่วยงานที่จะเริ่มนำ 5ส มาใช้สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ การทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูง
      และจัดเตรียมแผนการดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถดำเนินการ ตามลำดับ ดังนี้
      1.1 สร้างความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูง โดยเชิญผู้มีความรู้จากหน่วยงานภายนอกมาเป็นผู้่ให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษา
      1.2 กำหนดนโยบาย 5ส โดยผู้บริหารสูงสุด และแต่งตั้งคณกรรมการดำเนินงาน 5ส
      1.3 กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม 5ส
      1..4 ประกาศนโยบายให้ทุกคนในองค์กรได้ทราบ
      1.5. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานระดับล่าง
      1.6. อบรมคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้ 5ส เป็นไปอย่างต่อเนื่้อง
      1.7. ผู้บริหารระดับสูงเยี่ยมชมหน่วยงานที่ได้ดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
      2. ขั้นเริ่มดำเนินการ (Kick off Project) ขั้นตอนนี้จะมีการจัดกิจกรรมวันทำความสะอาดใหญ่ (Big cleaning Day) ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้น
      การดำเนินกิจกรรม 5ส บางหน่วยงานอาจถือเป็นวันประกาศนโยบาย 5ส และที่สำคัญที่สุดผู้บริหารรระดับสูงจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในวันนั้น
      เพื่่อแสดงออกถึงความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในองค์กร
      3. ขั้นดำเนินการ (Implementation) หลังจากวันทำความสะอาดใหญ่แล้วก็เริ่มดำเนินกิจกรรม โดยเริ่มที่ 3 ส แรกก่อน ซึ่งได้แก่
      ส สะสาง ส สะดวก และ ส สะอาด โดยดำเนินการ ดังนี้
      3.1 แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบ ทั้งที่เป็นพื้นที่ทำงาน และพื้นที่ส่วนรวม เช่น ทางเดิน บันได สนามหญ้า และห้องน้ำ
      3.2 ทุกพื้นที่จะต้องกำหนดแผนปฏิบัติการ หัวข้อต่าง ๆ ที่่ควรอยู่ในการดำเนินกิจกรรม 5ส คือ
      - รายละเอียดกิจกรรม เป็นการกำหนดกิจกรรมในเรื่อง 5ส ของพื้นที่ว่ามีอะไรบ้างตามขั้นตอนการดำเนินงาน 5ส
      - ระยะเวลาการดำเนินการ จะต้องกำหนดให้ขัดเจนว่าช่วงไหนจะทำอะไร ใช้เวลาเท่าใดในการดำเนินการ และระยะเวลา
      สิ้นสุดของแผนเมื่อใด เช่น แผน 1 ปี แผน 2 ปี เป็นต้น
      - ผู้รัีบผิดชอบ ในแผนควรกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละหัวข้อไว้ด้วย ซึ่งผู้รับผิดชอบอาจเป็นบุคคลหรือหน่วยงานก็ได้
      - แผนที่ดีควรระบุให้ชัดเจนว่าแต่ละขั้นตอนใช้งบประมาณเท่าใด
      - ระบุวันที่จัดทำแผน เพื่อให้ทรา่บว่าแผนการดำเนินงานนั้นทำไว้ตั้งแต่เมื่อใด ทั้งนี้การดำเนิินกิจกรรม 5ส มิใช่อยู่แค่เีพียง
      1 ปี หรือ 2 ปี เท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัยไม่มีที่สิ้นสุด และมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น มีมาตรฐานสูงขึ้น อันเป็นไปตาม
      หลักการของการเพิ่มผลผลิต ที่ว่า "วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน และพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้"
      - มีการประชุมสมาชิกที่อยู่ในพื้นที่อย่างสม่ำ่เสมอ เพื่อให้แผนปฏิบัติการที่ร่วมกันกำหนดเกิดผลในทางปฏิบัติ
      - ทุกคนในพื้นที่ต้องทำ 3 ส แรกในพื้นที่รับผิดชอบตามรายละเอียดของการจัดกิจกรรมติดตามภายในพื้นทีด้วย
      การตรวจประเมินความก้าวหน้าของดำเนินการ คณะกรรมการจะต้องได้รับการอบรมการใช้เทคนิค วิธีการ พร้อมทั้งเกณฑ์การประเมินด้วย
      ซึ่งการประเมิน ควรมีการประเมิน 2 ส่วน คือ
      ส่วนที่ 1 เป็นการให้คะแนนผลการดำเนินกิจกรรม ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแบบประเมิน เช่น ระดับความสะอาด
      การสะสาง หรือการจัดให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน ตลอดจนเรื่องความปลอดภัย และความร่วมมือร่วมใจ เป็นต้น
      ส่วนที่ 2 คือข้อเสนอแนะของกรรมการ ซึ่งพื้นที่จะต้องนำไปปรับปรุง หรือข้อดีเด่นที่พบซึ่งสามารถนำไปเป็นตัวอย่าง
      หรือกำหนดเป็นมาตรฐานต่อไป ควรจัดให้มีการปรับปรุง หรือแจ้งผลการดำเนินกิจกรรมให้ทุกคนได้รับทราบ

      เครื่องมือส่งเสริมกิจกรรม 5ส (Promotion Tools)

      เครื่องมือส่งเสริมกิจกรรม 5ส มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรม 5ส เพื่อเป็นการรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วม

      1. โปสเตอร์ 5ส ใช้ในการให้ความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานร่วมมือร่วมใจกันทำ 5ส อาจจะทำกันเอง หรือจัดให้มี
      การแข่งขันทำโปสเตอร์ 5ส หรือจัดซื้อ จัดหาจากสถาบันอื่นๆ ที่จัดทำขึ้น เช่นสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นต้น
      2.คำขวัญ 5ส อาจจัดให้มีการประกวดและนำคำขวัญที่ได้รางวัลมาติดเผยแพร่เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัิติงานตระหนักถึงความสำคัญของ 5ส
      3. ข่าว 5ส การจัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบข่าวของการดำเนินกิจกรรม 5ส เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งข่าวอาจจะออกมาในรูปของสิ่งพิมพ์
      หรือลงข่าวในเว็บไซต์ของหน่วยงานก็ได้
      4. เสื้อ 5ส บางหน่วยงานก็จัดให้มีการจัดทำเสื้อ 5ส นอกจากจะใส่ในวันทำความสะอาดใหญ่แล้วอาจนัดหมายใส่เสื้อ 5ส สัปดาห์ละ
      1 วัน เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนการทำ 5ส ของหน่วยงานของตน
      

อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 5ส

     ต้นทุนลดลง การลดต้นทุนสินค้าและบริการ รักษาคุณภาพให้คงอยู่เป็นหลักการที่ทุกองค์การจะต้องตระหนักและให้

      ความสำคัญที่จะต้องเป็นนโยบายขององค์กรด้วย การลดต้นทุนมีหลายวิธี เช่น การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการการลดความสูญเสีย
      ในกระบวนการผลิต การให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานในหน่วยงาน การปรับปรุงอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 5ส เป็นเทคนิค

      พื้นฐานที่ช่วยให้เกิดการลดต้นทุนทั่วทั้งหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นโรงงานหรือสำนักงานโดย ส แต่ละตัวช่วยลดต้นทุน ดังนี้

      ส สะสาง สามารถช่วยลดต้นทุนด้วยการที่เหลือของที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อไว้ใช้งาน และช่วยลดการสั่งซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ
      ที่เกินความจำเป็น การสะสางช่วยให้การควบคุมพัสดุทำได้ง่าย ไม่มีความผิดพลาดจากการใช้วัสดุที่เสื่อมคุณภาพ ช่วยลดค่าเช่าพื้นที่
      ในการเก็บของ และลดเวลา ลดจำนวนคนในการตรวจนับพัสดุตอนสิ้นปี ลดการซื้อกระดาษหรือแบบฟอร์มที่เกินความจำเป็น และลด
      การซื้อตู้ หรือชั้นเพื่อเก็บอุปกรณ์ที่มีมากเกินความจำเป็น

      ส สะดวก สามารถลดด้นทุนได้โดยลดเวลาที่ไร้ประโยชน์ เช่น ลดเวลาในการค้นหาเครื่องมือ วัสดุ สินค้า ข้อมูลต่าง ๆ
      รักษาคุณภาพและปริมาณของวัตถุดิบ การมีป้ายบอก ป้ายเตือน ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน วัตถุดิบมีการควบคุม
      ด้วยหลักการมองเห็น (Visual Control) ทำให้ไม่เกิดความผิดพลาดในการใช้และส่งวัสดุ การมีป้ายบอกทำให้เกิดความสะดวกสามารถ
      หยิบจับเอกสาร ค้นคว้าข้อมูลได้รวดเร็ว

      ส สะอาด ช่วยลดต้นทุนของการซ่อมและซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ที่หมดอายุก่อนกำหนด เพราะการทำความสะอาดเป็นการ
      ตรวจสอบเครื่องจักรซึ่งเป็นพื้นฐานของการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลด้วยตนเอง การทำความสะอาดจะทำให้มีการตรวจสอบสภาพ
      พื้นที่ไม่ให้มีสิ่งสกปรกหรือน้ำมันหล่อลื่นที่จะไปปนเปื้อนต่อสินค้า

      ส สุขลักษณะ การรักษามาตรฐานและการปรับปรุงงานให้ดีขึ้นช่วยลดต้นทุนในเรื่องของการลดความผิดพลาดต่าง ๆ
      นำไปสู่การปรับปรุง แก้ไขเหตุแห่งความผิดพลาดหรือความสูญเสีย และที่สำคัญยังเป็นพื้นฐานให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานใน
      การทำงาน

      ส สร้างนิสัย การสร้างนิสัยจะได้มาซึ่งทัศนคติที่ดีในการทำงานของพนักงานที่ช่วยกันปรับปรุงวิธีการทำงาน ปรับปรุง
      เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่นำมาซึ่งการลดต้นทุนนั้นสามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น เวลาและจำนวนครั้งการเสียของเครื่องจักรลดลง
      เวลาซ่อมเครื่องจักรลดลง อุบัติเหตุลดลง
      การส่งมอบ การส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ทันต่อความต้องการของลูกค้าทันตามเวลาที่กำหนด และถูกต้องตามสถานที่ที่ได้
      ตกลงไว้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งการนำกิจกรรม 5ส ไปดำเนินการจะทำให้การทำงานเกิดความรวดเร็วและ มีคุณภาพ
      ไม่ต้องเสียเวลาในการกลับไปแก้ไขใหม่ การจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นระบบไม่กีดขวางการทำงานทำให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน
      ซึ่งจะส่งผลถึงการส่งมอบสินค้าและบริการที่ทันเวลาตามความต้องการของลูกค้า
      ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การนำกิจกรรม 5 ส ไปใช้ในองค์กรจะทำให้ที่ีทำงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเกิดความ
      ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เพราะ 5ส จะช่วยปลูกฝังความมีวินัยให้กับพนักงานในการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรซึ่งจะส่งผล
      ให้ลดอุบัติเหตุในที่ทำงาน 5ส ทำให้เกิดความปลอดภัย ดังนี้
      ส สะสาง การสะสางทำให้มีการเก็บเครื่องมือให้เป็นที่ จะทำให้ลดอุบัติเหตุจากการเดินสะดุดเครื่องมือ การสะสางวัตถุดิบ
      ชิ้นงานระหว่างผลิตในกระบวนการจะเพิ่มพื้นที่สัญจร ลดอันตรายจากการถูกเฉี่ยวชนจากรถขนย้าย หรือ Forklift การสะสางอุปกรณ์ที่
      ชำรุด หรือเสียหายออกจากพื้นที่ทำงานจะลดอุบัติเหตุจากการใช้อุปกรณ์ที่บกพร่องชำรุดได้ เป็นต้น
      ส สะดวก การจัดให้เกิดความสะดวก การออกแบบพื้นที่ทำงานให้ลดการเคลื่อนไหว ช่วยให้ลดการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
      การลดขั้นตอนการค้นหาจะช่วยลดสภาพการณ์ที่รีบเร่งเกินปกติซึ่งเป็นการล่อแหลมต่อการเกิดอุบัติเหตุ การสร้างความสะดวก
      ในการผลิตโดยจัดวิธีการทำงานที่เหมาะสมจะช่วยลดภาระการทำงานของสายตาในการคัดเลือกหรือคัดแยก
      ส สะอาด จะช่วยลดปัญหาด้านสุขอนามัย เป็นต้น
      ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน เมื่อมีการนำ 5ส ไปเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานก็จะก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดีมีความ
      สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่มีอุับัติเหตุในการทำงานย่อมส่งผลถึงสภาพจิดใจของพนักงานที่จะทำให้ปฏิบัติงานด้วยความสุข
      และมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพให้แก่องค์กร
      สิ่งแวดล้อม 5ส ป็นแนวทางที่ใช้เพื่อปรับปรุงงานและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีในที่ทำงานเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่น่าทำงาน
      เกิดความสะอาด ความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของสำนักงาน ถูกสุขลักษณะ ซึ่งจะส่งผลถึงขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงาน
      อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในการทำงาน

หลักการของ 5ส

5ส เป็นกิจกรรมพื้นฐานของการบริหารคุณภาพที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ดี เกิดความ
      เป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ทำงาน ถูกสุขลักษณะ ทำให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่สามารถใช้ศักยภาพของตนเต็มความสามารถ สร้างทัีศนคติี
      ที่ดีของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน 5ส เป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ เป็นกิจกรรมที่ทำแล้ว
      เห็นผลสำเร็จชัดเจน นอกจากนั้น 5ส ยังเป็นพื้นฐานของการนำวิธีการบริหารใหม่ ๆ มาใช้ในอนาคต

      

   

      5ส ประกอบด้วยอะไรบ้าง 5ส มาจากคำ 5 คำ ดังนี้     
            1. สะสาง (SERI) คือการแยกของที่ต้องการและำไม่ต้องการออกจากกัน   
                  และขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
            2. สะดวก (SEITON) คือการจัดวางสิ่งของต่าง ๆ ในที่ทำงานให้เกิดความ
                  สะดวก เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเกิดความปลอดภัย
            3. สะอาด (SEISO) คือการทำความสะอาด เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ำทำงานอยู่เป็นประจำ
            4. สุขลักษณะ (SEIKETSU) คือสภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสขลักษณะ
                  และรักษาสภาพให้ดีตลอดไป
            5. สร้างนิสัย (SHITSUKE) คือการอบรม สร้างนิสัย ในการปฏิบัติงาน
                  ตามระเบียบวินัียข้อบังคับอย่างเคร่งครัด     

      5ส เทคนิคพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิต
      เมื่อเกิดการเพิ่มผลผลิตในองค์กรก็จะสามารถทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี ซึ่งกิจกรรมปรับปรุงในองค์กรที่เป็นพื้นฐาน
      ของการเพิ่มผลผลิต ได้แก่ 5ส เพราะกิจกรรม 5ส เป็นแนวทางที่ใช้เพื่อปรับปรุงงานและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน เพื่อให้เกิด
      บรรยากาศที่น่าทำงาน เกิดความสะอาดและิเกิดความเรียบร้อยในสำนักงาน ถูกสุขลักษณะ ลดความสูญเปล่าที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่ไม่
      จำเป็น และที่สำคัญช่วยสร้างทัศนคติที่ดีของพนักงานต่อองค์กร ทำให้พนักงานสามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่าง
      เต็มความสามารถ กิจกรรม 5ส เป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
      5ส เป็นเทคนิคการทำงานพื้นฐานของดำเนินการให้เกิดการเพิ่มผลผลิต โดยจะทำให้การผลิตมีคุณภาพ (Quality)
      ลดต้นทุนในการผลิต (Cost) ส่งมอบสินค้าหรือบริการได้ทันเวลาและทันต่อความต้องการของลูกค้า (Delivery) เกิดสภาพ
      การทำงานที่มีความปลอดภัย (Safety) สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน (Morale) และสิ่งแวดล้อม(Morale) ซึ่งรายละเีอียดของ
      สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการนำ 5ส ไปเป็นพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิต มีดังนี้
            
          
    
 
      คุณภาพ ผู้บริโภคต่างมีความพึงพอใจในการบริโภคสินค้าและบริการที่ดี มีคุณภาพ ราคาไม่แพง สามารถตอบสนอง
      ความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่มุ่งพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการ
      5ส ทำให้เกิดคุณภาพ ดังนี้
      1.ไม่มีสิ่งสกปรกฝุ่นละอองซึ่งทำให้งานไม่เกิดการเสียหาย ทำให้มีคุณภาพของสินค้าที่ออกมาดี
      2. สถานที่เก็บงานเรียบร้อย มีป้ายบอกอย่างชัดเจน ทำให้งานที่ไม่มีคุณภาพไม่ปะปนไปกับงานที่จะส่งให้ถึงมือลูกค้า
      3. การมีเครื่องมือที่สะอาดทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพ