Monday, April 15, 2013

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ 2

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กิจกรรม 5ส ในองค์กรต่างๆ
     
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2552
            
      หลักการและเหตุผล
      ในการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ปัจจุบัน กิจกรรม 5ส ได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการประกันคุณภาพ
      ของหน่วยงาน หลายประเทศและในหลายองค์กรของประเทศไทยว่าสามารถส่งผลดีต่อการพัฒนาองค์กรหลายประการ เช่น บุคลากรได้มีโอกาส
      พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ มีความสามัคคีและมีการทำงานเป็นแบบทีมงานภายในองค์กร เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้องค์กรมีการการปรับเปลี่ยน
      ไปในทิศทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

      วัตถุประสงค์
      1. เพื่อให้หน่วยงานระดับกองของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการประกันคุณภาพหน่วยงานโดยจัดกิจกรรม 5ส ร่วมกัน
      และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์แม่โจ้ใสสะอาด
      2. เพื่อประชาสัมพันธ์และจัดอบรมให้บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม 5ส
      สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
      3. เพื่อให้บุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันแบบทีมงานเพื่อเป็นการบูรณาการทรัพยากร
      สามัคคีและขวัญกำลังใจ
      
      แผนการดำเนินกิจกรรม 5ส ประจำปีงบประมาณ 2552
      จากการดำเนินกิจกรรม 5ส ของสำนักงานอธิการบดี ที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และประสบความสำเร็จในระดับที่เป็นที่น่าพอใจ
      กล่าวคือ หน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดีได้รับการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพและมีการทำงานแบบ
      ทีมงาน และเนื่องจากกิจกรรม 5ส เป็นแนวทางหนึ่งของระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างต่อเนื่อง
      จึงควรมีการดำเนินกิจกรรม 5ส ของสำนักงานอธิการบดีในขั้นบูรณาการพร้อมทั้งจัดให้บุคลากรในสังกัดได้รับความรู้เพิ่มเติมในรูปของการอบรม
      ศึกษาดูงาน และประชาสัมพันธ์โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานมุ่งให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับมหาวิทยาลัยด้านการดำเนินกิจกรรม 5ส
      ซึ่งประกอบด้วย
      
            สะสาง (Seiri) มั่นใจว่าในสถานที่ทำงานมีเฉพาะของที่จำเป็นใช้งานเท่านั้น
            สะดวก (Seiton) มีที่สำหรับของทุกสิ่งและของทุกสิ่งต้องอยู่ในที่ของมัน
            สะอาด (Seiso) การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ
            สุขลักษณะ (Seiketsu) รักษามาตรฐานและปรับปรุงให้ดีขึ้น
            สร้างนิสัย (Shitsuke) สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
            
      ตัวชี้วัดผลผลิต
            1. มีการบูรณาการทุกกิจกรรมในกิจกรรม 5ส 1 ระบบ
            2. กิจกรรม 5ส ของสำนักงานอธิการบดี ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง มีการขับเคลื่อนต่อเนื่องแบบ PDCA
            3. การบริหารจัดการภายในสำนักงานอธิการบดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บุคลากรปฏิบัติงานเต็มศักยภาพ
      และมีการทำงานแบบทีมงาน
            4. สำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานดีเด่นระดับมหาวิทยาลัยด้านการดำเนินกิจกรรม 5ส
            5. บุคลากรสำนักงานอธิการบดี ร้อยละ 100 ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม 5ส และนำกลับมาพัฒนางาน
      ของตนเอง
          

6. บุคลากรสำนักงานอธิการบดีร้อยละ 95 มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ตามศักยภาพ

0 comments:

Post a Comment