Monday, April 15, 2013

ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม 5ส

ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม 5ส

      1. ส สะสาง (SEIRI) การสะสาง คือการแยกของที่ใช้และไม่ใช้ออกจากกัน โดยขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป ซึ่งลักษณะหน่วยงาน
      ที่ควรนำหลักการ สะสางไปใช้ได้แ่ก่หน่วยงานที่มีลักษณะที่่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกว่่า ที่ทำงานคับแคบขึ้นเรื่อย ๆ เปลืองพื้นที่ไม่มีที่เก็บของ
      ทราบว่ามีของที่ต้องการใช้แต่หาไม่เจอ เสียเวลาในการค้นหานาน และอุปกรณ์ เครื่องมือหายอยู่เป็นประจำ และสิ่งที่ควรคำนึงถึืงใน
      การสะสาง มีดังนี้
     

1.1 ขั้นตอนของการสะสาง ในขั้นตอนของการสะสางจะต้องสำรวจสิ่งของในพื้นที่ปฏิบัติงานโดยแบ่งของที่สำรวจได้เป็น 3 ประเภท
      1) ของที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ได้แก่ เอกสาร อุปกรณ์ เครื่องมือ ควรจัดวางของเหล่านั้นไว้ในพื้นที่การปฏิบัติงานหรือพื้นที่
      ที่ง่ายต่อการหยิบจับ
      2) ของที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงาน คือสิ่งของที่ไม่จำเป็นในการทำงานสามารถสะสางได้ทันที เช่น เศษกระดาษ เอกสาร
      ที่ไม่ใช้งานแล้ว ขยะ เศษเหล็ก เศษวัสดุ เป็นต้น
      1.2 จุด หรือบริเวณที่ควรให้ความสนใจในการสะสาง    
            1) บริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน
            2) ตู้เก็บของ / ตู้เก็บเอกสาร / ตู้เก็บเครื่องมือ
            3) ชั้นวางของ
            4) ห้องเก็บของ / คลังพัสดุ
            5) ลิ้นชักเก็บของ / ลิ้นชักโต๊ะทำงาน
            6) พื้นที่บริเวณรอบ ๆ โต๊ะทำงาน
            7) มุมอับของห้อง
      1.3 ประโยชน์ของการสะสาง    
            1) มีพื้นที่ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
            2) ลดความสูญเสียในการซื้อตู้ / ชั้นวางเครื่องมือ
            3) ลดความสูญเสียพื้นที่ในการจัดเก็บเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
            4) ไม่มีการปะปนระหว่างของที่ใช้งานและไม่ใช้งาน
            5) ลดจำนวนวัสดุต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในการใช้งาน
            6) ลดเวลา และเกิดความสะดวกในการตรวจสอบวัสดุคงเหลือ
           
      2. ส สะดวก (SEITON) คือการจัดเก็บเอกสาร จัดวางเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เกิดความสะดวก เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
      ง่ายต่อการหยิบจับ เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
     

2.1 ขั้นตอนในการทำ ส สะดวก
      1) วางแผน และกำหนดพื้นที่ในการจัดวางสิ่งของให้ชัดเจน
      2) แบ่งหมวดหมู่ และจัดวางให้เป็นระเบียบ โดยอาจเีรียงลำดับ หรือจัดวางให้เกิดความสะดวกต่อการใช้งาน
      3) ทำแผนผังตำแหน่งวางเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
      4) วางของให้เป็นที่และมีป้ายบอกที่ชัดเจน
      5) ของที่ใช้งานบ่อยควรเก็บไว้ไกล้ตัว และจัดเก็บอย่างมีระบบ
      6) ตรวจเช็คอุปกรณ์ อยู่เป็นประจำ ว่่ายังอยู่ในสภาพดี และอยู่ในตำแหน่งที่กำหนด

0 comments:

Post a Comment